กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า Panasonic
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า Bosch
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า HIKVISION
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า INNEKT
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า DAHUA
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า HONEYWELL
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า DSC
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า Stanley
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า Phonik
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า HIP
กล้องวงจรปิดโคราช koratcctv สินค้า อุปกรณ์เสริมกล้องวงจรปิด
กล้องวงจรปิดโคราช กล้องวงจรปิดปากช่อง สินค้า งานซ่อมบำรุง
 
 
จดหมายข่าว



Facebook page   Click!! กล้องวงจรปิดโคราช Fiberoptic cctv

koratcctv koratautodoor ประตูรีโมทโคราช
 

กล้องวงจรปิด CCTV องค์ประกอบ,หน้าที่,ข้อมูลที่ไม่อาจละเลย??

อ่าน 4808

กล้องวงจรปิด  CCTV  องค์ประกอบ,หน้าที่,ข้อมูลที่ไม่อาจละเลย??
 

ณ ปัจจุบันทั้งในบ้านเราเอง และ หลายๆประเทศ หากเอ่ยถึง กล้องวงจรปิด หรือที่เรียกกันติดปาก ว่า CCTV คงมีเพียงคนไม่กี่คนที่ไม่ทราบว่ามันคืออะไร  เพราะปัจจุบัน เราจะได้ยิน และทราบข้อมูล หน้าที่ และคุณประโยชน์ของอุปกรณ์ตัวนี้ ผ่านสื่อต่างๆ ที่รายงานข่าวกันอยู่ทุกวี่วัน  แต่หากเจาะลึกลงไปว่า CCTV มีที่มาที่ไปอย่างไร ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ใดบ้าง ก็คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบ และต้องการทราบข้อมูลดังกล่าว งั้นมาติดตามกันว่า CCTV มีดีอย่างไร??
 

ระบบโทรทัศน์วงจรปิด หรือ CCTV มาจากคำว่า Closed-Circuit Television

แปลกันตรงๆ ตัวกันเลย ซึ่ง CCTV ก็คือระบบการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์จากกล้องที่ติดตั้งตามจุดต่างๆ ที่อยู่ในวงจรเดียวกันมาสู่เครื่องรับ ซึ่งจะใช้เพื่อเฝ้าระวัง หรือสอดส่องดูแลพื้นที่ จนถึงบันทึกเหตุการณ์ เป็นหลักฐานตามตัวผู้กระทำผิด


การทำงานของระบบโทรทัศน์วงจรปิดที่สมบูรณ์นั้นต้องประกอบด้วยอุปกรณ์หลายภาคส่วน ทั้งภาครับ ภาคส่ง และภาคบันทึก โดยพื้นฐานแล้วไม่ว่าจะเป็นระบบเล็กหรือใหญ่จะมีองค์ประกอบหลักๆ ของระบบเหมือนกัน แต่อาจจะมีการดัดแปลง เพิ่มเติมอุปกรณ์เสริมบางส่วน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ปัจจัยทางเทคโนโลยี รวมถึงงบประมาณการติดตั้งด้วยครับ

เริ่มที่องค์ประกอบแรก และสำคัญกันก่อน 

 

กล้องวงจรปิด (Camera) ทำหน้าที่ในส่วนของภาคส่ง

เป็นตัวมองภาพในจุดที่เราต้องการสังเกตการณ์ สำหรับกล้องที่ใช้เพื่องานนี้ควรเป็นกล้องวงจรปิดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับงานในลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ การรับแสง ระบบการรองรับสัญญาณภาพ (PAL/NTSC) แผงวงจร หรือแม้แต่โครงสร้างกล้องที่ต้องออกแบบมาให้ทนทาน เพราะต้องใช้งานตลอดเวลา ส่วนจะเป็นกล้องหน้าตาแบบไหนประเภทอะไรก็แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่นั้นๆ
 

จอรับสัญญาณภาพ (Monitor) ทำหน้าที่ในส่วนของภาครับ และแสดงผล

เป็นตัวเผยแพร่สัญญาณภาพที่ได้จากกล้อง ถ่ายทอดภาพจากมุมที่กล้องมองเห็นเสมือนเรามอง สำหรับจอรับสัญญาณภาพนี้อาจจะเป็นจอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับระบบเครื่องบันทึกภาพที่เราใช้ อย่างไรก็ตามจอรับภาพนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ครับ ในกรณีที่ระบบมีการเชื่อมต่อกับเครื่องบันทึกภาพแล้วไม่ต้องการแสดงภาพให้ใครเห็น ณ จุดนั้น เพราะสามารถนำสื่อบันทึกภาพ เช่น ม้วนวิดีโอ แผ่นซีดี ดีวีดี หรือข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ออกมาเปิดดูภายหลังได้

 

เครื่องบันทึกภาพ (DVR) ทำหน้าที่ในส่วนของภาคบันทึก

บันทึกภาพที่ได้จากกล้องแล้วส่งผ่านไปยังจอรับสัญญาณภาพ จึงเป็นตัวที่ทำหน้าที่อยู่ตรงกลางระหว่างกล้องและจอรับสัญญาณภาพ เครื่องบันทึกภาพเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้สามารถบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเรียกดูย้อนหลังได้ ถ้าระบบใดไม่มีความต้องการดูภาพย้อนหลังหรือต้องการดูเฉพาะภาพเหตุการณ์สด ณ บัดนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องบันทึกภาพก็ได้ แต่ก็จะทำให้การทำงานของระบบกล้องวงจรปิดลดประสิทธิภาพลง เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ ขึ้น ก็จะไม่สามารถเรียกภาพกลับมาดูเพื่อใช้ประโยชน์ได้เลย
 

สายสัญญาณภาพ (Cabling) เป็นสื่อนำสัญญาณภาพที่ได้จากกล้องไปสูจอรับภาพหรือเครื่องบันทึกภาพ

โดยทั่วไปจะใช้สาย Coaxial เช่น RG6 เพราะกล้องวงจรปิดทั่วไปส่งสัญญาณภาพเป็นแบบอนาล็อก แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาไปมากจนสามารถใช้สาย UTP หรือสาย LAN แทนได้ แต่ก็จะต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอลอีกตัวหนึ่ง ทว่าก็มีกล้องรุ่นใหม่ คือกล้องไอพี ที่ส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ใช้สาย UTP เป็นสื่อสัญญาณเหมือนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามหากใช้กล้องแบบไร้สาย (wirless camera) ก็ไม่จำเป็นต้องเดินสายสัญญาณภาพครับ
 

สายไฟเลี้ยง

อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบโทรทัศน์วงจรปิดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องมีไฟเลี้ยงเหมือนอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปที่ต้องเสียบปลั๊กแล้วจึงจะใช้งานได้ กล้องก็เช่นเดียวกันจึงจำเป็นต้องลากสายไฟไปยังจุดต่างๆ ที่ติดตั้งกล้องอยู่ เพื่อให้มีแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงกล้อง แต่ก็ต้องดูด้วยครับว่ากล้องแต่ละรุ่นใช้ไฟเลี้ยงเท่าไหร่ บางรุ่นใช้แค่ 12 Volt ซึ่งต้องมีหม้อแปลงไฟ (adaptor) มาด้วย บางรุ่นก็ใช้ 220 Volt เท่าไฟบ้านเลยก็มีครับ อันนี้ก็ต่อตรงไม่ต้องมีหม้อแปลงไฟครับ

นอกจากองค์ประกอบหลักๆ ที่กล่าวมานี้แล้ว อาจมีองค์ประกอบอื่นมาเสริมได้ครับ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ส่วนป้องกันไฟกระชาก ซึ่งจะช่วยรักษาระดับไฟเลี้ยงกล้องและเครื่องบันทึกภาพ ไม่ให้อุปกรณ์เกิดการเสียหายจากกระแสไฟเกิน หรือส่วนสำรองไฟที่ช่วยให้มีไฟเลี้ยงกล้องแม้ขณะไฟฟ้าดับ ทำให้ระบบยังทำงานได้อย่างต่อเนื่องครับ
 

ระบบกล้องวงจรปิดใดๆ จะดีหรือไม่

คงปฎิเสธไม่ได้ว่า อยู่ที่ศรรกยภาพของตัวอุปกรณ์เป็นหลัก ตั้งแต่เลนส์ ตัวImage sensor รับภาพ หน่วยประมวลผลกลางเพื่อแปลงสัญญาน และปรับแต่งคุณภาพ ส่งต่อไปยังเครื่องบันทึก และแสดงผลที่จอ  แต่สิ่งสำคัญที่ไม่สามารถละเลยได้ก็คือ การออกแบบระบบ การตั้งค่าอุปกรณ์ และการติดตั้งที่ถูกต้องเหมาะสม วางแผนป้องกัน เหตุการณ์ล่วงหน้า ที่จะทำให้ระบบติดขัด ตัวอย่างเช่น
 
  1. ปัญหาเรื่องความไม่สเถียรของไฟฟ้าในระบบ สัญญาณรบกวน
  2. ความเสียหายจากสัตว์ฟันแทะ หรือแมลง 
  3. ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อตัวอุปกรณ์ในระบบ ทำให้อายุสั้นลง หรือทำงานติดขัด

ทั้งนี้ผู้วางระบบติดตั้งที่ดีจักต้องคาดการณ์ และวางแผนล่วงหน้า แผนวิธีตรวจสอบ และซ่อมบำรุงระบบในภายหลัง  ซึ่งสิ่งสำคัญที่กล่าวมานี้ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของทีมติดตั้ง ประกอบกับงบประมาณที่มีด้วยครับ 
 

***ข้อแนะนำ*** เรื่องกล้องวงจรปิด และระบบความปลอดภัย หากละเลย หรือไม่ใส่ใจในรายละเอียด ระหว่างติดตั้ง เมื่อเกิดปัญหาภายหลังในช่วงเหตุการณ์ที่สำคัญๆ แต่ไม่สามารถใช้งานได้ ก็เท่ากับว่า เป็นการลงทุนโดยสูญเปล่า
 

เพียงจุดเล็กๆ ของช่างที่มักง่าย  ก็สร้างปัญหาใหญ่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง  '

www.koratit-cctv.com